ปัญหางูไม่กินจะหมดไป
เริ่มจากเช็คพื้นฐานก่อน
1.เปิดปากดูน้ำลายและเส้นเลือดตามลายฟัน หรือ อาการอักเสบในช่องปาก
2.เช็คกล่องเลี้ยงทึบรึยัง,เสียงห้ามดัง,แสงแดดห้ามโดน,เปิดปากดูน้ำลายและเส้นเลือดตามลายฟัน หรือ อาการอักเสบในช่องปาก
3.อุณหภูมิห้ามสวิง 30-31c คืออุณหภูมิที่ดีที่สุด
4.เหยื่อไม่ได้มีแค่ หนูไมค์ เราควรให้เหยื่ออื้นเช่น asf,rat เมื่องูไม่ยอมกิน
5.ไม่จำเป็นต้องให้เหยื่อเป็น แต่ถ้างูไม่ยอมกินอาจต้องยอมตัดใจทดสอบว่าไม่ยอมกินเพราะไม่ชินหนูแช่รึป่าว
ให้ยาถ่ายโปโตซัว และ พยาธิ
6.หลังจากทำตาม 5 ข้อด้านบน งูก็ยังไม่ยอมกินเวลาก็ผ่านมาแล้ว 1 สัปดาห์(วันที่7)ทีเขาไม่ยอมกิน ต่อไป คือขั้นตอนที่ควรทำ
*หมายเหตุ ก่อนจะเริ่มขั้นต่อไป เราจะชั่งน้ำหนักตัวน้องตั้งแต่เริ่มและบันทึกไว้ เพื่ออนาคตอันใกล้นี้ถ้าน้องไม่กลับมากินเกิน 1 เดือนและน้ำหนักตัวลดไม่เกิน 5% ถือว่าปกติ
6.1 ถ่ายโปรโตซัว ตัวยาชื่อ เมโทรนิดาโซล (Metronidazole) เป็นยาปฏิชีวนะ ที่จะออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย ซึ่งจะใช้ในการรักษาโรคจากการติดเชื้อแบคทีเรียได้หลากหลายชนิด โดยเฉพาะกับเชื้อแบคทีเรียชนิดที่เจริญเติบโตได้เองโดยไม่ต้องพึ่งพาออกซิเจน (Anaerobic Bacteria) และสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ เซลล์เดียวหรือโปรโตซัว (Protozoa Microorganisms)
โดยยี่ห้อทีเราแนะนำ เราจะจ่ายยาให้งูทางปากโดยใช้สายฟีตอาหารนกยัดเข้าลำคองู และจ่ายยา 1.25cc/1kg โดยหลังจากงูไม่กิน 1 สัปดาห์(วันที่7)
หลังจากจ่ายยาจะเข้าสัปดาห์ที 2 (วันที่14)ให้ทดสอบลองให้เหยื่อทุกรูปแบบ ถ้ายังไม่กินอีกต้องขั้นต่อไป
6.2 จ่ายยา Albendazole (อัลเบนดาโซล) เป็นยารักษาการติดเชื้อที่เกิดจากพยาธิตัวกลมทุกชนิด เช่น พยาธิตัวตืด พยาธิไส้เดือน พยาธิปากขอ พยาธิเส้นด้าย และพยาธิแส้ม้า เป็นต้น โดยยาจะออกฤทธิ์ด้วยการทำให้พยาธิไม่สามารถดูดซึมน้ำตาลในร่างกายไปใช้ จนพยาธิไม่มีพลังงานและตายลงในที่สุด เกี่ยวกับ Albendazole. ยาถ่ายพยาธิตัวทีเราแนะนำ
โดยจะจ่ายยาทางปาก 1.25cc/1kg หลังจากให้เสร็จให้ปล่อยงูไว้ให้เข้าอาทิตย์ที 3 หรือ ทดสอบให้ อาหารงูอีกครั้งใน 2 วันข้างหน้าได้
หลังจากจ่ายยาจะเข้าสัปดาห์ที 3 (วันที่ 21)ให้ทดสอบลองให้เหยื่อทุกรูปแบบ ถ้ายังไม่กินอีก
เราจะให้ Ringer solution for reptiles+ Catosal
การให้ Ringer solution for reptiles+ Catosal เพื่อปรับเมตาบอลิซึม
เมตาบอลิซึม (Metabolism) คือ กระบวนการทางเคมีที่ช่วยให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติหรือสามารถรักษาภาวะต่าง ๆ ภายในร่างกายให้คงที่ (Homeostasis) กระบวนดังกล่าวประกอบด้วยการย่อยสารอาหารจากอาหารและเครื่องดื่มที่บริโภคเข้าไป และการเสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย กระบวนการเมตาบอลิซึมจะเปลี่ยนอาหารและเครื่องดื่มที่รับเข้าไปให้กลายเป็นพลังงาน เพื่อนำไปใช้ทำสิ่งต่าง ๆ เช่น หายใจ ไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงอวัยวะ ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย ช่วยไม่ให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง ย่อยอาหาร ขับของเสียออกมาในรูปปัสสาวะหรืออุจจาระ รวมทั้งทำให้สมองและเส้นประสาททำงานได้
6.3 เมื่อเข้าสัปดาห์ที 3 (วันที่ 21) งูก็ยังไม่ยอมกินอีก เราจะให้วิตามินและเกลือแร่กับงู
โดยจะต้องหาซื้อดังรูปนี้
1.เข็ม ขนาด 20-50cc
2.lactated ringer
3.d-5-1/2s
4.acetate ringer
5.บรรจุภัณฑ์ สีชาทึบแสง เพื่อใช้เก็บตัวของเหลว ได้นาน 2 สัปดาห์ ที่อุณหภูมิปกติไม่ต้องแช่ตู้เย็น
6.Catosal 10%
หลังจากเตรียมครบให้ดึงของเหลงทั้ง 3 ออกมาเท่าๆกันเช่น ดูดทุกของเหลวออกมา 10cc แล้วผสมกัน หลังจากนั้น ใช้ของเหลวที่ผสมแล้ว โดยคำนวน 3% จากน้ำหนักตัวงู เตรียมไว้ และดูด Catosal 1cc/1kg เตรียมไว้ ใส่สายฟีตอาหารนกเข้าไปในปากงู จ่าย catosal และตามด้วยของเหลวทั้ง 3 เข้าไปค่อยๆจ่าย เพราะปริมาณน้ำอาจเยอะน้องงูอาจเกร็งจนของเหลวไหลออกมาได้
หลังจากทำเสร็จพักน้องงู 1 วันแล้วลองให้อาหารได้เลย
หลังจากจ่ายยาจะเข้าสัปดาห์ที 4 (วันที่28) ให้ทดสอบลองให้เหยื่อทุกรูปแบบ ถ้ายังไม่กินอีกต้องขั้นต่อไป
6.4 หลังจากทำครบทุกอย่างไปแล้ว จนเข้าอาทิตย์ที 4 งูก็ยังไม่ยอมกิน ต้องทำตามข้อ 6.1 ซ้ำ และครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายในรอบ 1 ปี ทีเราจะไม่จ่ายยานี้ให้งูอีกเพราะมั่นใจได้แล้วว่างูทีเรารับเข้ามาเลี้ยงได้ถูกกำจัดโปรโตซัวทั้งหมด หลังจากนี้เราจะดูจากการถ่ายของเสียของงูเท่านั้น
หลังจากจ่ายยาจะเข้าสัปดาห์ที 5 (วันที่ 35)ให้ทดสอบลองให้เหยื่อทุกรูปแบบ ถ้ายังไม่กินอีกต้องขั้นต่อไป
6.5 ให้ทำตามข้อ 6.2 อีก 1 ครั้ง และครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายในรอบ 1 ปี ทีเราจะไม่จ่ายยานี้ให้งูอีกเพราะมั่นใจได้แล้วว่างูทีเรารับเข้ามาเลี้ยงได้ถูกกำจัดพยาธิทั้งหมด หลังจากนี้เราจะดูจากการถ่ายของเสียของงูเท่านั้น
หลังจากจ่ายยาจะเข้าสัปดาห์ที 6 (วันที่ 42) ให้ทดสอบลองให้เหยื่อทุกรูปแบบ ถ้ายังไม่กินอีกต้องขั้นต่อไป
6.6 หลังจากนี้เราจะจ่ายเพียง Ringer solution for reptiles หรือของเหลวทั้ง 3 อย่าง+ Catosal ทุกสัปดาห์จนกว่างูจะกลับมากิน ระหว่างนี้ต้องค่อยเช็คน้ำหนักงู ปากงูอยู่ตลอดว่าเขาป่วยไหม
สุดท้ายถ้าเราใส่ใจและรักงูจริงๆ ทำตามทุกขั้นตอนนี้ทั้งหมด งูจะกลับมากิน และ จะกินอย่างดุเดือดอย่างแน่นอน หรืออาจเปลี่ยนนิสัยเหมือนงูเป็นคนละตัวไปเลยก็เป็นได้
ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณข้อมูลทั้งหมดจากพี่ เก๋า ประธานชมรมผู้เลี้ยงงูบอลแห่งประเทศไทย และ เจ้าของฟาร์ม Killermorph thailand มากๆครับ